10 เมนูควรระวัง "ช่วงหน้าร้อน" เสี่ยงอาหารเป็นพิษ

บทความสุขภาพ

28 มี.ค. 2567
ครั้ง

10 เมนูควรระวัง "ช่วงหน้าร้อน" เสี่ยงอาหารเป็นพิษ

      ประเทศไทยขณะนี้กำลังเข้าสู่ช่วง ฤดูร้อน เรียกว่าอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลที่ตามคือ เชื้อโรคหลายชนิดเจริญเติบโตได้ดี และอาจทำให้อาหารบูดเสียได้ง่ายกว่าปกติ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนนำไปสู่ความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยด้วย โรคอาหารเป็นพิษ ไม่อยากหมดเรี่ยวแรงจากการขับถ่ายหรืออาเจียนบ่อย ๆ ก็ต้องระมัดระวังในเรื่องการรับประทานอาหาร

โรคอาหารเป็นพิษ อาการเป็นอย่างไร?

      หากมีอาการ 1-2 ข้อ ให้สงสัยว่าเป็นโรคอาหารเป็นพิษชนิดรุนแรง

  • อาเจียนรุนแรง หรือถ่ายมากผิดปกติ (มากกว่า 8-10 ครั้งต่อวัน)
  • มีไข้
  • ซึม ไม่มีแรง อ่อนเพลีย มือเท้าเย็น
  • ปัสสาวะสีเข้ม ปัสสาวะน้อย หรือไม่ปัสสาวะเกิน 6 ชั่วโมง
  • หากเป็นเด็กเล็ก อาจมีอาการปากแห้ง ตาโหล ร้องให้แบบไม่มีน้ำตา

วิธีดูแลตนเองเมื่อมีอาการอาหารเป็นพิษ

  • ปกติสามารถหายได้เองภายใน 24-48 ชั่วโมง โดยให้รักษาตามอาการคือ รับประทานเกลือแร่ทดแทนและยาแก้คลื่นไส้ อาเจียน
  • งดรับประทานอาหารประเภทนม ผลไม้ อาหารรสจัด อาหรสุก ๆ ดิบ ๆ อาหารหมักดอง
  • พักผ่อนให้มากขึ้น ดื่มน้ำมาก ๆ งดการทำกิจกรรมหนัก ๆ เช่น ออกกำลังกาย ทำงานบ้านหนัก ๆ
  • ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ หากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบพบแพทย์

10 เมนูควรระวัง "ช่วงหน้าร้อน" เสี่ยงอาหารเป็นพิษ

  • จ่อม/ก้อย/ลาบดิบ  
  • อาหารประเภทยำ  
  • อาหารทะเล  
  • ข้าวผัด/ข้าวผัดโรยเนื้อปู 
  • ขนมจีน 
  • สลัดผัก 
  • อาหารหรือขนมที่มีส่วนประกอบของกะทิ  
  • ส้มตำ  
  • ข้าวมันไก่  
  • น้ำแข็งที่ไม่สะอาด

      เมนูอาหารเหล่านี้ควรรับประทาน โดยยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด” คือ รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ หากเป็นอาหารกล่องควรแยกกับข้าวออกจากข้าว และรับประทานภายใน 2 ชั่วโมงหลังจากปรุงเสร็จ หากมีรูป รส กลิ่น สีผิดปกติไม่ควรรับประทาน และก่อนหยิบจับหรือรับประทานอาหาร ควรล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดทุกครั้ง

เมนูควรระวังช่วงหน้าร้อนเสี่ยงอาหารเป็นพิษ.png

ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา

iConsFacebook.png iConsInstagram.png iConsLine.png iConsTwitter.png iConsYouTube.png iConsTikTok.png