รู้หรือไม่? ลักษณะน้ำลายบอกโรคได้

บทความสุขภาพ

23 ก.พ. 2566
ครั้ง
รู้หรือไม่? ลักษณะน้ำลายบอกโรคได้

      ‘น้ำลาย’ มีประโยชน์สำคัญต่อการดำรงชีวิตของเราเป็นอย่างมาก ประกอบด้วยน้ำ 99.5% ที่เหลือเป็นเกลือแร่จำพวก โซเดียม โพแทสเซียม คลอไรด์ ไบคาร์บอเนตและฟอสเฟต ช่วยให้เกิดความชุ่มชื้นในช่องปากของเรา

หล่อลื่นอวัยวะในช่องปาก ป้องกันไม่ให้ปากแห้ง ป้องกันเนื้อเยื่อในช่องปากจากการใช้งานของเรา

ไม่ว่าจะเป็นการเคี้ยว การกลืน

น้ำลายคืออะไร  และ ผลิตจากไหน?

      น้ำลาย คือ ของเหลวที่ถูกหลั่งในช่องปาก ถูกผลิตจากต่อมน้ำลายหลัก และต่อมน้ำลายย่อย น้ำลายหลักมีด้วยกัน 3 คู่ มีขนาดใหญ่ และแต่ละคู่มีตำแหน่งแตกต่างกันในช่องปาก

น้ำลาย มีประโยชน์อย่างไร?

  • ก่อให้เกิดความชุ่มชื่นในช่องปาก และป้องกันเนื้อเยื่อในช่องปากจากภยันตรายต่าง ๆ ระหว่างการเคี้ยว การกลืน และการพูดคุย
  • ช่วยในการย่อยอาหาร น้ำลายช่วยทำให้อาหารมีความนุ่มง่ายต่อการย่อย และยังมีองค์ประกอบของเอนไซม์ อะไมเลส และ ไลเปส ที่ช่วยในการย่อยอาหารจำพวกแป้ง และไขมัน ตามลำดับ ก่อนส่งต่อไปยังกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก
  • ช่วยป้องกันฟันผุ โดยน้ำลายทำหน้าที่เป็นสารบัฟเฟอร์จากองค์ประกอบของอิเล็กโทรไลท์ ควบคุมความเป็นกรดเป็นด่างที่เหมาะสมในช่องปาก อยู่ที่ประมาณ pH 6.2 – 7.4 ซึ่งถ้าสมดุลในส่วนนี้ถูกรบกวน เกิดความเป็นกรดที่สูงขึ้น จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ ในทางตรงกันข้าม ถ้าเกิดความเป็นด่างที่สูงขึ้น จะมีโอกาสเกิดหินปูนได้มาก ทำให้เกิดโรคปริทันต์
  • ช่วยในการรับรส โดยส่งเสริมการทำหน้าที่ของปุ่มรับรส เราจะสังเกตเห็นได้ว่าในคนไข้ที่มีน้ำลายน้อย เช่น ผู้สูงอายุ หรือคนไข้ที่ทานยาที่มีผลต่อการลดการหลั่งน้ำลาย มักจะมีการรับรสที่ผิดปกติ
  • ในน้ำลายมีสารที่ฆ่าเชื้อโรคได้ คือ สารอิมมูโนโกลบูลินเอ (IgA) แลคโตเฟอริน และแลคโตเพอร์ออกซิเดส เวลามีแผลในปาก สารเหล่านี้จะทำให้แผลหายเร็วขึ้น  ฆ่าเชื้อโรคได้

น้ำลายแบบไหนบอกโรคอะไรได้บ้าง?

  • น้ำลายหวาน : เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงระบบย่อยอาหารที่ทำงานผิดปกติเพราะเอ็นไซม์ที่ผิดปกติไป โดยเฉพาะเอ็นไซม์อะมีเลส (Amylase) ในน้ำลายของเรา ยิ่งผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง แสดงว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานรุนแรง ควรพบแพทย์โดยด่วน
  • น้ำลายเค็ม : เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกายของเรากำลังเกิดการอักเสบอยู่ มีความเสี่ยงจะเป็นโรคคออักเสบเรื้อรัง โรคไตอักเสบเรื้อรัง หรือแผลอักเสบในปาก
  • น้ำลายเปรี้ยว : ผู้ป่วยที่กระเพาะอาหารอักเสบหรือลำไส้เล็กส่วนต้นเป็นแผล ร่างกายจะมีการหลั่งกรดออกมามากกว่าปกติ ซึ่งกรดเหล่านั้นจะมีรสเปรี้ยว ทำให้ในปากและลำคอรู้สึกได้ถึงรสชาตินั้นตามไปด้วย
  • น้ำลายเผ็ด : หากรู้สึกเผ็ดหรือซ่าในคอ อาจมีความเสี่ยงเป็นโรคความดันเลือดสูง โรคเกี่ยวกับจิตประสาทแปรปรวน
  • น้ำลายจืด : เป็นภาวะบ่งบอกถึงอาการความรู้สึกรับรสเสื่อมถอย ซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคลำไส้อักเสบ โรคบิด โรคเกี่ยวกับระบบการย่อยอาหาร หรือกำลังอยู่ในช่วงพักฟื้นหลังผ่าตัด และอาการนี้มักพบมากในผู้ป่วยมะเร็ง
  • น้ำลายฝาด : บ่งบอกถึงความผิดปกติของระบบประสาท ซึ่งแก้ไขได้ด้วยการปรับชีวิต เปลี่ยนเวลานอนให้เพียงพอ หากนอนไม่หลับก็อาจจะปรึกษาหมอขอเพิ่มเมลาโทนินหรือยาระงับความเครียดเพื่อให้พักผ่อนได้เต็มที่ยิ่งขึ้น
     น้ำลายมีความสำคัญอย่างมาก ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นต่อการหลั่งน้ำลายที่น้อยลง อาจทำให้เสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ได้ หากมีความผิดปกติของน้ำลาย  ควรจะสังเกตอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น และควรดูแลเอาใจใส่สุขภาพช่องปากเป็นพิเศษด้วยตนเอง

7.23022023 รู้หรือไม่_ ลักษณะน้ำลายบอกโรคได้.png

 

ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา

iConsFacebook.png iConsInstagram.png iConsLine.png iConsTwitter.png iConsYouTube.png iConsTikTok.png