"ผู้ป่วยริดสีดวง" ออกกำลังกายแบบไหนได้บ้าง

บทความสุขภาพ

07 พ.ค. 2568
ครั้ง

"ผู้ป่วยริดสีดวง" ออกกำลังกายแบบไหนได้บ้าง
      ริดสีดวงทวาร เป็นโรคที่หลายคนอาจเคยได้ยิน แต่ไม่ค่อยมีใครอยากพูดถึง เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับระบบขับถ่ายโดยตรง แต่เชื่อหรือไม่ว่า ริดสีดวงเป็นโรคที่พบได้บ่อยมาก และสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ริดสีดวงเป็นแล้วใช้ชีวิตลำบาก เพราะไม่ว่าจะทำกิจกรรมอะไรก็ต้องระวังไม่ให้อาการกำเริบจากการเสียดสี

วันนี้เรามี 4 วิธีออกกำลังกายที่ “เหมาะสม” และบรรเทาอาการริดสีดวงได้

  • จ็อกกิ้งเบา ๆ : การจ็อกกิ้งพร้อมแกว่งแขนช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ลดอาการคั่งของเส้นเลือดบริเวณริดสีดวง ทำให้บรรเทาอาการได้ดีเมื่อทำเป็นประจำ ร่วมกับการใช้สมุนไพรเสริม
  • โยคะ : ช่วยปรับสมดุลธาตุในร่างกาย กระตุ้นระบบย่อยอาหารและขับถ่าย พร้อมผ่อนคลายความเครียด เหมาะกับการรักษาริดสีดวงแบบธรรมชาติ
  • ว่ายน้ำ : น้ำช่วยพยุงร่างกาย ลดแรงกระแทก และกระตุ้นระบบขับของเสีย เหมาะสำหรับผู้มีอาการริดสีดวงโดยไม่เพิ่มการอักเสบ
  • แอโรบิก : เน้นท่าที่เคลื่อนไหวพอเหมาะ ควบคุมลมหายใจ ลดเสียดสีและอาการกำเริบ ควรทำ 30-45 นาที สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง เพื่อควบคุมอาการริดสีดวงระยะยาว
      ใครว่าเป็นริดสีดวงแล้วออกกำลังกายไม่ได้? จริงๆ แล้ว "ริดสีดวงทวาร" ไม่ได้อันตรายอย่างที่หลายคนกังวล หากรู้จักดูแลตัวเองและเลือกวิธีออกกำลังกายที่เหมาะสม ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการ ปรับระบบขับถ่าย ลดความดันในเส้นเลือดดำ และลดปัญหาท้องผูกได้ดี อย่างไรก็ตามหากคุณมีอาการริดสีดวงขั้นรุนแรง เช่น เจ็บขณะถ่าย มีก้อนยื่น หรือมีเลือดปนทุกครั้งที่ถ่าย อาการเรื้อรังเหล่านี้อาจจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเข้ารับการตรวจรักษาได้อย่างทันท่วงที
ผู้ป่วยริดสีดวงออกกำลังกายแบบไหนได้บ้าง.png

ติดตาม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ของเรา
iConsFacebook.png iConsInstagram.png iConsLine.png iConsTwitter.png iConsYouTube.png iConsTikTok.png